หน้าเว็บ

คลังบทความ ^^

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เคล็ดลับความจำดี

เทคนิคช่วยจำด้วยระบบตัวเลข

เทคนิคช่วยจำระบบตัวเลขสำหรับเทคนิคช่วยจำระบบนี้อาจจะไม่ง่ายนัก แต่ทว่าเด็กฝรั่งอายุแค่ 10 ขวบสามารถจำสิ่งของที่คุณอ่านให้ฟัง 100 รายการได้อย่างไม่มีตกหล่นแม้แต่ชิ้นเดียว
แน่ละ เด็กคนนั้นถูกสอนให้ใช้ระบบตัวเลขมาช่วยจำสิ่งต่างๆ ได้มากมายมหาศาล หลักง่ายๆ ของระบบตัวเลขก็คือ การใช้ ”ตัวเลข” เป็นแบบ
โดยทางที่ดีที่สุดก็คือ “สร้าง” ภาพที่เหมือนตัวเลขด้วยตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก และเขียนรูปประกอบลงไปด้วย
ตัวอย่างเช่น
หมายเลข 1 แทนภาพดินสอ
หมายเลข 2 แทนภาพงู
หมายเลข 3 แทนภาพชุดชั้นในผู้หญิง
หมายเลข 4 แทนภาพเรือใบ
หมายเลข 5 แทนภาพตัวอักษรเอส
คุณไม่จำเป็นต้องสร้างตามตัวอย่าง ขอให้สร้างขึ้นตาม “ความรู้สึก” ของคุณย่างแท้จริง อย่างเช่น เลข 1 คุณไม่รู้สึกว่าเลข 1 เหมือนดินสอ แต่คุณเห็นเลข 1 ทีไร คุณจะคิดถึงเสาไฟฟ้าทุกทีเลยก็ให้คุณสร้างภาพระบบตัวเลข 1 ว่าเป็น “เสาไฟฟ้า”
และวิธีใช้ก็คือ การเปรียบเทียบภาพนั้น
สมมติว่า วันพรุ่งนี้คุณจะต้องทำงานสำคัญ 5 อย่างดวยกันคือ

  1. โทรหาเพื่อน
  2. ไปซื้อปลามาเพิ่มในตู้
  3. แวะไปรษณีย์
  4. เอาหนังสือไปคืนบอย
  5. ซื้อเทียนไข
  6. สิ่งเหล่านี้คุณอาจจะลืม
สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้ในวันที่ในใจอาจมีเรื่องราวอื่นๆ รกในหัว ดังนั้นการนำเรื่องที่ทำมาเข้าระบบตัวเลขนั้นจะช่วยคุณได้มากที่เดียว
ก่อนนอนคุณก็เข้าระบบตัวเลขด้วยการนึกภาพ คุณเองกำลังโทรศัพท์ด้วย “ดินสอ” นั่นคือสิ่งที่คุณต้องทำเป็นอันดับ 1 ในพรุ่งนี้ แล้วนึกภาพ “งู” เต็มตู้ปลาของคุณ ต่อด้วย นึกภาพในไปรษณีย์เต็มไปด้วยพนักงานใส่ยกทรงเห็นทรวงอกเป็นเนินเชียว แล้วนึกภาพหนังสือบรรทุกเต็มเรือใบที่เขียนข้างเรือว่า บอย ต่อด้วยแล้วก็นึกภาพเทียนที่รูปทรงเป็นตัวเอส S มีไฟลุกวอมแวมบนหัวตัว “เอส” ด้วย
ก่อนนอนนึกภาพทั้ง 5 นี้ในใจหลายเที่ยวจนหลับไปในที่สุด
เมื่อตื่นเช้าลองทบทวนระบตัวเลขในใจ สมมติว่าภาพแรกที่คุณนึกออกก่อนนั้นเป็นภาพเรือใบที่เต็มไปด้วยหนังสือ และข้างเรือใบก็มีจารึกอักษร BOY ไว้ด้วย นาทีนั้นเองคุณก็จะจำได้ว่าการเอาหนังสือไปคืนบอยเป็นสิ่งที่คุณจะต้องทำเนอันดับที่ 4 ของวันนี้ เพราะคุณรู้อยู่แล้วว่าเรือใบหมายถึงเลข 4 ของคุณนั่นเอง
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เมื่อสร้าง “ระบบตัวเลขกับภาพ” แล้วคุณจะต้องท่องจำภาพกับตัวเลขทั้งหมดให้ได้ก่อนที่จะทดลองใช้ในการช่วยจำ
สิ่งที่อาจสนใจ


เกร็ดเล็กๆ ช่วยเพิ่มความจำ

todoเป็นสิ่งเสริมช่วยจำนอกจากกฎเกณฑ์พื้นฐาน ซึ่งควรใช้เล็กๆ น้อยๆ อย่าใช้จนเคยชิน เพราะมันจะทำให้คุณไม่อยากจำ
ติดโน้ตเตือนไว้ที่กระจก
เพราะก่อนที่เราจะออกจากบ้านหรือไปไหน ก็ต้องส่องกระจกเป็นเรื่องประจำ (โดยเฉพาะผู้หญิง) เพราะฉะนั้นสิ่งที่เตือนเราได้แน่นอนที่สุดและเป็นสิ่งท้ายสุดที่จะเตือนเราได้ คือ เขียนโน้ตช่วยจำใสกระดาษชิ้นใหญ่ๆ แล้วแปะไว้กับกระจำ (สารพัด) ที่เราต้องมองตัวเองในนั้นตลอดเวลา
วางไว้ให้สะดุดตา
เมื่อต้องการเตือนตัวเองให้นำของอะไรติดตัวไปด้วย ให้วางของให้สะดุดเราที่สุด เด่นที่สุด อยู่ในที่ๆ เราต้องเดินผ่านก่อนออกเดินทาง
อย่างเช่น เราจะต้องเอาหนังสือเล่มหนึ่งไปคืนเพื่อน คุณก็อาจนำเอาหนังสือเล่มนั้นไปวางไว้ที่โต๊ะรับแขกหน้าบ้าน แทนที่จะวางไว้บนชั้นหนังสือซึ่งอาจทำให้คุณลืมได้ แม้คุณจะพยายามเตือนตัวเองอยู่ในใจตลอดเวลาก็ตาม แต่การที่หนังสือมาวางเด่นสะดุดตาอยู่กลางห้องรับแขกเช่นนั้น คุณก็จะไม่มีวันลืมอย่างแน่นอน
บอกคนข้างเคียง
วิธีนี้สำหรับสถานการณ์ที่มีคนอื่นอยู่ด้วยกับคุณ อย่างเช่นว่าคุณกำลังจะออกจากบ้าน และคุณเดินไปปิดแอร์ คุณก็เอ่ยออกากับใครคนนั้นเลยว่า “ฉันปิดแอร์แล้วนะ” และเมื่อคุณออกจากบ้านไปแล้วขณะที่คุณนั่งอยู่บนรถคุณอาจจะนึกแวบขึ้นมาในใจตามประสาคนขี้ลืมว่า “เอ๊ะ! ฉันปิดแอร์รึยังเนีย” ซึ่งคุณก็สามารถเอ่ยปากถามไถ่ใครคนที่อยู่กับคุณได้เลยว่าเมื่อก่อนออกจากบ้านคุณปิดแอร์หรือยัง เขาก็จะตอบได้ว่าคุณปิดแอร์แล้ว และยังหันมาบอกเขาเลยด้วย
แต่...ถ้าใครคนนั้นเป็นคนขี้ลืมด้วยละก็...วิธีนี้คงไร้ผลเหมือนกัน
ฉะนั้นการพัฒนาความจำของตัวคุณเองด้วยตัวเองย่อมจะดีกว่าวิธีช่วยจำวิธีใดๆ เป็นแน่แท้
สิ่งที่อาจสนใจ


เทคนิค…ช่วยเพิ่มความจำ

MediaFile_167GFGL-Vote1_winner460x300วิธีที่จะช่วยความจำมีหลายวิธี ซึ่งจะช่วยให้เราจำเรื่องต่างๆ ในระบบความจำที่สลับซับซ้อนได้
คำสัมผัส
เป็นสิ่งที่ช่วยให้จดจำเรื่องหรือข้อเท็จจริงได้ง่ายขึ้น คำสัมผัสนี้มีหลายอย่างสำหรับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการท่องจำ ก. ไก่ ที่มีมานมนาน หรือการท่องเนื้อหาวิชาต่างๆ สมัยที่เราเรียนชั้นประถม มัธยมที่เราท่องกันเจื้อยแจ้วนั่นละ
การแต่งคำสัมผัสนั้นไม่มีการถือหลักเกณฑ์ใดๆ ให้แต่งตามที่ถนัด
เรียงลำดับตามตัวอักษร
ในบางคราวการจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ ตามลำดับอักษรก็ช่วยได้มากเป็นวิธีการหนึ่งที่จัดลำดับสมาชิกในกลุ่มของสิ่งที่ไม่อาจจัดลำดับได้ตามเหตุผล
การเรียง เราอาจใช้ตัวอักษรไทยหรืออังกฤษก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน
การย่อคำ
เป็นการใช้ส่วนย่อยแทนส่วนรวม มักใช้การย่อคำมากกับชื่อของคน องค์กรทางการเมือง นอกจากจะใช้คำย่อที่มีอยู่แล้วเรายังสร้างคำย่อขึ้นเองได้
เก็บใส่ลิ้นชัก
เป็นอุปกรณ์เก่าแก่ที่ใช้มานานทำให้เราจดจำหลายสิ่งได้เพราะตำแหน่งที่อยู่ของมัน
การใช้ระบบลิ้นชักไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การพูดในสิ่งที่ชุมชนเท่านั้น ความจริงควรใช้กับรายการที่ไม่มีระเบียบมากที่สุด
ข้อบกพร่องของระบบนี้อยู่ที่...แม้จะจัดวางสิ่งต่างๆ ในลำดับอย่างหนึ่ง แต่อาจไม่มีเหตุผลใดสำหรับลำดับนั้น
การจับคู่
ในการจำสิ่งที่จับคู่กันทำได้ง่ายเกือบเท่าการจำสิ่งเดียวโดดๆ ดังนั้นในการจับคู่เราก็สร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงคำในคู่ เพื่อให้จดจำได้ง่ายขึ้น
สิ่งที่อาจสนใจ


ท่องซ้ำ...ช่วยเพิ่มความจำได้

imagesบางครั้งสิ่งที่เราได้ประสบมาอาจสร้างความจำที่แจ่มชัด จนเราไม่สามารถกลืนมันได้ แม้ว่าเราไม่เคยเจตนาจะระลึกถึงมันเลย
เป็นเช่นนี้เพราะข้อเท็จจริงที่เราเคยเรียนรู้ไป อาจน่าสนใจหรือน่ากลัวมาก จนเราไม่ต้องใช้ความพยายามในการจำมันเลย
สิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว หากไม่มีความสำคัญพิเศษ ย่อมถูกลืมไปหลังจากเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง นอกจากว่าเราฝึกฝนหรือใช้มันบ่อยๆ
วิธีที่ช่วยทำให้เราจดจำได้ดีขึ้นคือ การเสริมกำลังด้วยการท่องซ้ำอยู่เสมอๆ จะช่วยให้ข้อมูลจะเก็บได้นานขึ้น
ถ้าต้องการจดจำข้อเท็จจริงต่างๆ ต้องใช้หลักการเหล่านี้
1. พยายามให้ความสนใจในคุณค่าของการจดจำข้อเท็จจริงเหล่านั้น พร้อมๆ กับมองให้เห็นความสำคัญของมันด้วย
2. มุ่งสนใจข้อเท็จจริงเหล่านั้นอย่างมีสมาธิ เพราะความสนใจก่อให้เกิดความจำ ไม่ควรสนใจไปพร้อมๆ กับการเหมอลอย
3. ทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงนั้นให้ถ่องแท้
4. คนจะจำได้ก่อน แต่ภายหลังก็จะลืม ดังนั้นควรตั้งใจจดจำมันให้ดี
5. หากเป็นไปได้ให้นำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะคนเรามันจำเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองได้เสมอ
6. มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองว่าเราสามารถจดจำมันได้ตลอดเวลา
7. เชื่อมโยงหรือจับกลุ่มข้อเท็จจริงนั้นกับข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
8. จัดพวกข้อเท็จจริงนั้นและเก็บเข้าแฟ้มในที่เหมาะสมภายในระบบความจำของเรา
9. ให้มองข้อเท็จจริงนั้นในลักษณะที่เป็นส่วนย่อยหนึ่งของส่วนรวม
10. หากเป็นได้ จัดมันให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มก้อนเล็กๆ ของข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกัน
11. ย้ำความจำแน่นขึ้นด้วยการท่องซ้ำ
สิ่งที่อาจสนใจ


จัดระเบียบ…เพื่อเพิ่มความจำ

0020หลักการที่ควรใช้จัดการกับความจำคือ ให้มีที่สำหรับทุกสิ่งและเก็บทุกสิ่งไว้ในที่ของมัน ความจำที่ดีเปรียบเสมือนระบบแฟ้มข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอย่างมีระเบียบและถูกดูแลรักษาอย่างดี
เช่น เมื่อมีข้อเท็จจริงผ่านเข้ามา เราจะถามตัวเองแล้วว่าจะเก็บหรือทิ้ง ถ้าจะเก็บเราก็ต้องทำความเข้าใจมันใหถี่ถ้วน แล้วถามตัวเองว่าจะเก็บไว้ที่ไหน
สิ่งสำคัญเวลาจัดเก็บควรจับกลุ่มไว้กับข้อเท็จจริงอื่น ซึ่งคล้ายคลึงกันและเข้าแฟ้มไว้แล้ว
ข้อมูลที่เป็นระเบียบอันเก็บไว้ในจิตใจที่เป็นระเบียบย่อมสูญหายได้ยาก
การจัดระเบียบเป็นนิสัยของจิตใจ เด็กแรกเกิดก็จัดระเบียบประสบการณ์ได้แล้ว เมื่ออายุได้ 1 เดือนก็สามารถแยกแยะระหว่างตัวเองกับสิ่งอื่นๆ แม้เด็กจะไม่เคยรู้ตัวว่าเขากำลังจัดระเบียบอยู่และไม่สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องการจัดระเบียบได้ก็ตาม
ตราบใดที่คนเรามีชีวิตอยู่ คนเราจะดำเนินการจัดระเบียบความรู้ของตนไปอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งการจัดระเบียบโลกของตนอย่างง่ายๆ เป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งในชีวิตของคนที่มีสติสัมปชัญญะปกติ
แต่การจัดระเบียบกลายเป็นปัญหาสำคัญไปเมื่อเราเรียนเรื่องที่ซับซ้อน เช่น ประวัติศาสตร์ เคมี ในสถาการณ์นี้ครูหรือผู้แต่งหนังสือต้องชีแนะ ความคลายคลึง ความแตกต่าง และเสนอการจัดจำพวกที่สำเร็จเรียบร้อยให้แก่เขา
ปัญหาความจำใดๆ อาจแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากเราเรียงลับ และจัดกลุ่มข้อมูลของมันอย่างเป็นระบบ
สิ่งที่อาจสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น